อภิมหาแชร์ลูกโซ่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ใกล้ถึงจุดล่มสลาย เมื่อมีการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อแก้เงินเฟ้อ และดึงดอลลาร์กลับ แก้ขาดดุลงบประมาณจากการใช้จ่ายมือเติบ กลายเป็นภาระดอกเบี้ย ปี 66 จ่ายดอกอย่างเดียวถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ และถ้ายังใช้เงินอัตรานี้ ยอดหนี้จะเพิ่ม 1 ล้านล้านดอลลาร์ทุก 100 วัน ขณะต่างชาติเริ่มระแวงว่าสหรัฐฯ จะไม่ใช้หนี้คืน จึงเทขายพันธบัตรหันไปซื้อทองคำ สหรัฐฯ จึงต้องคงดอกเบี้ยให้สูงต่อไป ส่งผลค่าเงินแข็ง สินค้านำเข้าจากประเทศถูกกว่า การผลิตในประเทศลดน้อยลง เมื่อไม่มีทางเลือกอื่น ต้องพิมพ์แบงก์เพิ่มเพื่อเอาไปใช้หนี้ ค่าเงินดอลลาร์ก็อ่อนลง และเกิดเงินเฟ้อ ต้องขึ้นดอกเบี้ยอีก กลายเป็นงูกินหาง และจะนำไปสู่จุดจบ
ในรายการ “คุยทุกเรื่องกับสนธิ” หรือ “สนธิทอล์ก”เมื่อวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เครือผู้จัดการได้กล่าวถึงผลต่อเนื่องจากสถานการณ์การสู้รบระหว่างอิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ในมิติทางภูมิรัฐศาสตร์ในระดับโลก โดยเฉพาะในมิติทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สถานการณ์ด้านดอกเบี้ย – ค่าเงิน – ราคาน้ำมัน – ราคาทองคำที่ตอนนี้กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ผันผวนอย่างมาก
มีคนเปรียบเทียบว่า สถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์โลกที่เชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับเศรษฐกิจโลกนั้น คล้ายคลึงกับสถานการณ์เมื่อประมาณ 50 กว่าปีก่อน ในช่วงสงครามเวียดนาม กล่าวคือ
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้รัฐบาลสหรัฐฯ ดำเนินการพิมพ์เงินดอลลาร์อย่างมากมายมหาศาล เพื่อใช้จ่ายในช่วงโรคระบาดใหญ่ที่กินเวลา 2 ปี เกือบ 3 ปี จากนั้นก็ต่อด้วยสงครามยูเครน-รัสเซียและสงครามระหว่างอิสราเอล กับปาเลสไตน์ และโลกมุสลิม ประกอบกับที่สหรัฐฯ นั้นขาดดุลการค้าอย่างหนัก จนส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ด้านทุนสำรองระหว่างประเทศ และตลาดทองคำ
ส่วนเมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว ในช่วงทศวรรษที่ 1960-1970 สหรัฐฯ พิมพ์เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างบ้าคลั่งเพื่อมาใช้สนับสนุนในการทำสงครามเวียดนาม จนส่งผลต่อตลาดทองคำ และ Gold Pool จนทำให้ใน วันที่ 15 สิงหาคม 2514 เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า “Nixon Shock” เนื่องจากเป็นวันที่ ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ของสหรัฐอเมริกา ประกาศงดรับแลกเงินดอลลาร์เป็นทองคำ และนี่เองถือเป็นจุดเริ่มต้นของสัญญาณการล่มสลายของระบบ Bretton Woodsที่ทั่วโลกมาประชุมกัน เพื่อให้ทองคำเป็นเงินสำรองที่ทั่วโลกยอมรับ
เงินสกุลมหาเทพ “ยูเอสดอลลาร์”
เมื่อพูดถึงเรื่องเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เราต้องย้อนกลับไปก่อนว่า นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้กลายเป็นเงินสกุลหลักของโลก ด้วยอำนาจทางการทหาร และพลานุภาพทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ประกอบกับที่เพราะสหรัฐฯ มีการสะสมทองคำเพื่อหนุนหลังค่าเงินของตัวเองมากที่สุด แต่ต่อมาใน ปี พ.ศ.2514 หรือ ค.ศ.1971 เมื่อ 53 ปีที่แล้ว ในช่วงสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกมาตรฐานในการใช้เงินดอลลาร์การผูกพันกับทองคำ อันหมายความว่า สหรัฐฯ สามารถพิมพ์เงินดอลลาร์มากเท่าไหร่ก็ได้ โดยไม่ต้องมีการสำรองทองคำเป็นการหนุนหลัง
การที่เงินดอลลาร์สหรัฐได้สิทธิพิเศษในการพิมพ์เงินเท่าไหร่ก็ได้ และท่วมอยู่ในทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลก สหรัฐอเมริกาได้ใช้เครื่องมือันสำคัญในการดำรงสถานภาพของเงินดอลลาร์ คือ
1. In God we trust – เงินดอลลาร์พิมพ์เท่าไหร่ก็ได้, เงินดอลาร์อยู่ในทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลก โดยที่เงินดอลลาร์ไม่มีทองคำหนุนหลัง ธนาคารกลางสหรัฐฯ จึงพิมพ์ดอลลาร์เพิ่มขึ้นเท่าไหร่ก็ได้ ตราบใดที่คนทั่วโลกเชื่อถืออยู่ ดังคำที่พิมพ์อยู่ในธนบัตรดอลลาร์ว่า In God We Trust = เราเชื่อในพระเจ้าฉันใด ก็จงเชื่อในคุณค่าดอลลาร์ฉันนั้น
2. เงินดอลลาร์ปั่นหรือทุบ หุ้น ทุนสำรอง ค่าเงิน ทั่วโลกได้ – ทุกรัฐบาลเมื่อได้เงินดอลลาร์มาก็นำไปซื้อพันธบัตรสหรัฐอเมริกา ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาก็ออกพันธบัตรสร้างนี้ ให้ทุุกประเทศนำเงินมาฝากในรูปของพันธบัตรสหรัฐอเมริกาและจะได้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน แต่เงินทั้งหมดก็ฝากเอาไว้ที่สหรัฐอเมริกา
อยากจะได้เงินกู้เพิ่มจากทั่วโลกให้นำเงินไหลเข้าอเมริกาก็เพียงแค่เพิ่มอัตราดอกเบี้ย เงินก็จะไหลออกจากตลาดหุ้นทั่วโลกได้ อยากจะปั่นหุ้นทั่วโลกก็ลดอัตราดอกเบี้ยตลาดพันธบัตร เงินดอลลาร์ก็ไหลปั่นตลาดหุ้นไปทั่วโลก
ไม่เพียงเท่านั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มือเติบมาก ขาดดุลการคลังอย่างต่อเนื่อง เพราะได้ก่อหนี้ภายในประเทศอันมโหฬารมหาศาลด้วย จนปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีหนี้รวมประมาณเกือบ 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ คิดเป็นเงินบาทไทยก็เกือบ 1,300 ล้านล้านบาท หรือเทียบเท่ากับงบประมาณประเทศไทยที่ปี 2567 อยู่ที่ราว 3.5 ล้านล้านบาท ประมาณ 370 ปี!!!
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังมีหนี้สินสูงกว่าจีดีพีเกือบ 120% ขณะที่ตัวรัฐบาลสหรัฐฯ เองก็มีหนี้สะสมประมาณ 7 เท่าตัว เมื่อเทียบกับรายได้ของภาครัฐ หรือ เปรียบเทียบง่าย ๆ ก็คือ หากรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นครอบครัว ก็ถือว่าหนี้สินล้นพ้นตัว เพราะต้องหารายได้ 7 ปีแบบไม่จับจ่ายใช้สอยเลยเพื่อมาใช้คืนหนี้ที่ตัวเองก่อเอาไว้
หนำซ้ำรัฐบาลกลางในสหรัฐอเมริกาก็ใช้มาตรการในการพิมพ์แบงก์ดอลลาร์เพิ่มเข้าไปในตลาดเพื่อแก้ไขปัญหาภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ หรือที่ศัพท์เทคนิคเรียกแบบสวยหรูว่ามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ Quantitative Easing (QE)หลายครั้งแล้วด้วย
ทั้งนี้ การที่มีการยอมรับเงินดอลลาร์ที่พิมพ์ได้ไม่จำกัด ได้เป็นการทำให้เปิดโอกาสในการปล่อยกู้ผ่านธนาคารต่าง ๆ สร้างหนี้ให้กับชาติต่าง ๆ ได้ทั่วโลก ในขณะเดียวกันก็ยังมีเงินมหาศาลที่สามารถทุบ หรือ ปั่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกได้ด้วย และยังสามารถทุบค่าเงินทั่วโลกผ่านการไหลเข้าออกเงินทุนของแต่ละประเทศ การปั่นและทุบด้วยเงินดอลลาร์ที่พิมพ์ออกมาได้ไม่จำกัด สามารถดูดความมั่งคั่งกลับเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาได้
ยังไม่นับตลาดเก็งกำไรคู่แข่งดอลลาร์ เช่น ทองคำ ก็มีตลาดกระดาษล่วงหน้า และตลาดอนุพันธ์ที่สามารถปั่นและทุบมูลค่าทองคำได้เพื่อไม่ให้มาเป็นคู่แข่งเงินดอลลาร์ได้
3. เงินดอลลาร์ผูกติดกับ น้ำมันและธุรกิจอาวุธผ่านสงคราม - กลุ่มทุนพลังงานในสหรัฐอเมริกาได้เข้าสัมปทานปิโตรเลียมด้วยเงินดอลลาร์ไปทั่วโลก เพราะรู้ว่า น้ำมันและก๊าซเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องใช้เป็นพลังงานหลักในการดำรงชีพ การบีบให้การซื้อขายน้ำมันด้วยเงินดอลลาร์ หรือที่เรียกกันว่า“เปโตรดอลลาร์”จึงทำให้ “น้ำมัน” เป็นปัจจัยสำหรับที่ใช้สำหรับการรักษาคุณค่าของดอลลาร์ไปโดยปริยายด้วย
ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ในยามที่ สหรัฐอเมริกาบุกอิรัก และอัฟกานิสถาน นั้นก็ล้วนแล้วแต่เป็นการเข้าไปสัมปทานเอาทรัพยากรน้ำมันเข้ากลุ่มทุนพลังงาน แล้วยังเอาเงินที่ได้มาซื้ออาวุธทำสงครามต่อได้ด้วย
ในทำนองเดียวกัน การก่อสงครามแล้วทำให้ปิโตรเลียมขาดแคลนในตลาดโลก กลายเป็นการสร้างโอกาสให้กับธุรกิจพลังงานในสหรัฐอเมริกาสามารถขายน้ำมัน และก๊าซ ได้ในราคาแพง ๆ โดยสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาล เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสงครามยูเครนกับรัสเซียแล้วทำให้ยุโรปต้องใช้ราคาพลังงานแพงขึ้นอย่างมาก
ในปี 2565 ในปีที่สงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุขึ้น บริษัทน้ำมันตะวันตกสามารถทำกำไรได้สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดย บริษัทน้ำมันตะวันตกระดับ Top 5 ของโลกคือ Exxon, Shell, Chevron, โททาล และ BP ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทของ สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส สามารถทำกำไรรวมกันคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 7.5 ล้านล้านบาท โดยกำไร 59,000 ล้านดอลลาร์ของ Exxon นั้นเป็นยอดกำไรที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ในปีหนึ่ง ๆ ของบริษัทน้ำมันตะวันตก, ส่วน Shell ของอังกฤษซึ่งทำกำไรได้ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก็ทำกำไรได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ก่อตั้งมา 115 ปีเลยทีเดียว !
นี่ยังไม่นับการแซงก์ชั่นประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เช่นการแซงก์ชั่นรัสเซียและอิหร่าน หรือ ผ่อนคลายการแซงก์ชั่นประเทศเหล่านี้ จากการสร้างสถานการณ์และกำหนดขึ้นของสหรัฐอเมริกา หรือ อิสราเอล ก็ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการกำหนดราคาขึ้นลงราคาน้ำมันของชาติอื่น เพื่อธุรกิจน้ำมันของสหรัฐอเมริกาด้วย
เพราะฉะนั้น โดยสรุปแล้ว กลไกในการรักษาค่าเงินดอลลาร์ที่พิมพ์เท่าไหร่ก็ได้ นั้นกระทำผ่าน 4 กลไกหลัก ๆ ก็คือ
1. อัตราดอกเบี้ย
2. ธุรกิจปิโตรเลียมที่ใช้เงินดอลลาร์ในการซื้อขายพลังงาน
3. สงครามช่วงชิงทรัพยากร
4. การใช้ดอลลาร์ทุบหรือปั่นทรัพย์สินทั่วโลกในตลาดเก็งกำไร
ความท้าทายจาก “คู่แข่ง” เงินดอลลาร์
1.การถือกำเนิดของกลุ่ม BRICS ที่มีจีน รัสเซีย เป็นแกนนำพร้อมกับ อินเดีย บราซิล และแอฟริกาใต้ กำลังทำให้โลกแบ่งขั้วและกำลังจะละทิ้งเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เสีย
2.เงินดอลลาร์ได้ก่อหนี้มหาศาล จนไม่สามารถใช้คืนได้ เข้าข่ายแชร์ระดับโลกกำลังจะล้มลง ดังที่ผมเคยกล่าวเอาไว้ว่า เงินดอลลาร์สหรัฐฯ นั้นกำลังก่อให้เกิดอภิมหาแชร์ลูกโซ่ขึ้น
3.การยึดเงิน และ พันธบัตรรัสเซียในทุนสำรองระหว่างประเทศ ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกล้วนแล้วแต่ไม่สามารถไว้วางใจสหรัฐอเมริกาได้อีกต่อ เพราะในวันที่สหรัฐฯชักดาบ ก็อาจหาข้ออ้างร้อยแปดพันเก้าในการยึดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศใด ได้ด้วย โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม BRICS ทำให้ธนาคารกลางหันมาเทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกา แล้วมา ซื้อทองคำจริง ๆ เพิ่มขึ้น
4.เทคโนโลยีจีนที่พัฒนาขึ้นมาก้าวล้ำนำหน้าอเมริกา ไัดส่วนทองคำในทุนสำรองของพวกเขาในอนาคต นั่นหมายความว่า การลงทุนในทองคำยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการเก็งกำไรและป้องกันความเสี่ยงในสภาวะทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนในปัจจุบัน การเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองยังเป็นวิธีที่ดีในการสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว การลงทุนในทองคำอาจจะมีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ แต่ก็เป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการคุ้มครองค่าเงินและเพิ่มมูลค่าให้กับทุนสำรองของประเทศในระยะยาวน่าจะเป็นข่าวที่ดีสำหรับประเทศที่มีการเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรอง เนื่องจากทองคำมักถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าและมักถูกใช้เป็นการสำรองค่าเงิน การเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองอาจช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจของประเทศได้ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาการใช้ทองคำในทุนสำรองเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาด้วยเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองของพวกเขาในอนาคตอันใกล้ ๆ นี้ เนื่องจากทองคำถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงและมีค่าในสังคมการเงิน การเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองจะช่วยเพิ่มความเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจของประเทศและช่วยลดความเสี่ยงในการเจอปัญหาทางการเงินในอนาคตได้ด้วย การลงทุนในทองคำยังเป็นวิธีการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยและมั่นคงในระยะยาว ดังนั้นการเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองจึงเป็นการลงทุนที่มีความเป็นไปได้และคุ้มค่าในระยะยาวได้เป็นอย่างดีนมูลค่าลดลง
อเมริกาจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องขึ้น “อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร” และ “เพิ่มการกู้เงิน” ให้มากขึ้นเพื่อดึงเงินกลับมาในภาคการธนาคารและพันธบัตร แต่เงินจากต่างประเทศก็เข้ามาท่วมสหรัฐอเมริกาเพื่อได้รับผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูง
แต่ในอีกด้านหนึ่ง fund flow หรือ การไหลของเงินทุนดอลลาร์จากกลุ่มทุนทั่วโลกก็ไหลกลับมาที่สหรัฐอเมริกา ทำให้ค่าเงินดอลลาร์กลับมาแข็งกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ทั่วโลก ด้วยหนี้อันมหาศาล แต่ก็ต้องแลกมาด้วยรายจ่ายดอกเบี้ยอันมหาศาลด้วยเฉพาะ ค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา อย่างเดียวใน ปี 2566 ก็สูงถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ(หรือคิดเป็นเงินไทยราว 38 ล้านล้านบาท) เข้าแล้ว นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยดังกล่าวก็กำลังจะทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นเงาตามตัวกับหนี้สาธารณะที่จะทะลุ 35 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเวลาอันใกล้นี้
นักเศรษฐศาสตร์ นักการเงินในอเมริกา ระบุชัดเจนว่า อเมริกาใช้จ่ายเงินอัตราแบบนี้จะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านเหรียญ ทุกๆ 100 วัน หนึ่งปี 365 วันจะต้องเพิ่มขึ้น 3 ล้านล้านเหรียญ ทุกวันนี้ใช้เงิน 1 ล้านล้านเหรียญ พิมพ์ขึ้นมาเพื่อมาจ่ายดอกเบี้ย เพราะฉะนั้นแล้ว ผ่านปี 2567 ไป อัตราดอกเบี้ยที่จะต้องเอาไปจ่ายเขาโดยการพิมพ์เงินขึ้น จะไม่ใช่ 1 ล้านล้านเหรียญแล้ว น่าจะอยู่ที่ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
“ที่เจ็บปวด อเมริกาก็รู้ ไม่มีทางเลือก เพราะว่าดันทะลึ่งไปขึ้นดอกเบี้ยให้คนเขาเทเงินกลับมาที่อเมริกา ก็ต้องจ่ายเขา จะชักดาบเขาก็ชักไม่ได้ ตอนนี้ ต้องหาเหตุในการชักดาบ ก็มีอยู่ทางเดียว คือต้องหาเงินมาจ่ายค่าดอกเบี้ย แล้วจะหาเงินจากไหนล่ะ ตัวเองไม่ได้ทำมาหากิน เพราะตัวเองยึดถือว่าตัวเองสามารถจะพิมพ์เงินดอลลาร์ขึ้นได้โดยไม่มีกล้าเข้ามาแหยม ก็เลยต้องพิมพ์เงินเพิ่มขึ้นไง เพราะฉะนั้นแล้ว หมาไล่กัดหางตัวเอง พายเรือในอ่างตลอดเวลา” นายสนธิกล่าว
นอกจากนี้ ด้วยค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นของสหรัฐอเมริกาก็ยังส่งผลทำให้ค่าเงินทั่วโลกอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ราคาสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศในสหรัฐฯ ถูกลง ทำให้เกิดการเร่งนำเข้าสินค้าจากนอกประเทศสหรัฐอเมริกามากขึ้น ส่งผลให้ การผลิตในสหรัฐอเมริกาลดลง ทำให้ อัตราการจ้างไม่เพิ่ม และ รายได้ประชาชนในสหรัฐฯ ก็ยิ่งลดลงเป็นเงาตามตัว
แต่กระนั้น สหรัฐอเมริกาก็ลังเลที่จะซื้อสินค้านำเข้าถูก ๆ จากต่างประเทศได้ด้วย เพราะผอรรมชาติที่มีทองคำมากที่สุดคือประเทศไทย ซึ่งมีสัดส่วนทองคำในทุนสำรองถึง 55% ของประเทศตัวเอง ส่วนประเทศอื่นๆ ที่มีสัดส่วนทองคำสูงคือ สหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย โดยมีสัดส่วนทองคำในทุนสำรองอยู่ระหว่าง 20-30% ของประเทศตัวเอง ส่วนประเทศที่มีสัดส่วนทองคำต่ำที่สุดคือ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนทองคำในทุนสำรองน้อยกว่า 10% ของประเทศตัวเอง000003956215.JPEG” data-width=”1006″ data-height=”566″/>
ด้วยเหตุนี้ คนทั่วโลกยิ่งมองเห็นเนื้อแท้ “สภาวะหนี้อเมริกา” ที่ไม่มีทางใช้คืนมากขึ้น ก็ยิ่งระแวงเทขายพันธบัตรอเมริกามากขึ้นและหันไปซื้อทองคำแทนมากขึ้น ดอกเบี้ยอเมริกาจึงลงไม่ได้เด็ดขาด เพราะถ้า FED ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลง เงินเฟ้อในอเมริกาก็จะทะยานสูงขึ้น และคนทั่วโลกก็จะยิ่งซื้อทองคำมากกว่านี้อีก นอกจากนี้ ถ้าจะพิมพ์ดอลลาร์เพิ่ม ดอลลาร์ก็จะด้อยค่าลง ธนาคารกลางทั่วโลกยิ่งเร่งซื้อทองคำมากขึ้นอีกเช่นกัน
สถานการณ์เช่นนี้ นี่เองจึงเป็นสาเหตุเบื้องหลังว่าทำไม ชาวบ้าน พวกเรา ประชาชนคนไทยเองจึงเห็นสถานการณ์ที่ราคาทองคำพุ่งขึ้นทำนิวไฮ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
อเมริกาพยายามกดราคาทองคำแต่ไม่สำเร็จ
ทั้งนี้ สถานการณ์ในอีกด้านหนึ่ง คือ กองทุนทองคำที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา SPDR ได้เทขายทองคำ แต่กลับปรากฏว่าทองคำราคาสูงขึ้น จนวันนี้ SPDR ต้องกลับมาเริ่มซื้อทองคำใหม่ในราคาที่แพงขึ้น
ด้านหนึ่งการขึ้น “อัตราดอกเบี้ย” ของสหรัฐอเมริกาก็เพื่อทำให้เงินไหลเข้าสู่“ตลาดพันธบัตรอเมริกา”แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องอัตราดอกเบี้ยสูงขนาดนี้ จึงส่งผลให้ราคาทองคำก็สูงขึ้นไม่หยุด โดยอีกด้านหนึ่ง ตลาดเก็งกำไรอนุพันธ์ตราสารทองคำ หรือทองคว่าระดับสัดส่วนทองคำในทุนสำรองของพวกเขาจะช่วยเสริมสถานะการเงินของประเทศในระยะยาว โดยทองคำถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงและมีค่ามากในการเก็บรักษามูลค่า การเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองยังช่วยให้ประเทศมีความมั่นคงในเศรษฐกิจและการเงินในกรณีที่เกิดวิกฤติภัยหรือวิกฤติเศรษฐกิจขึ้น การลงทุนในทองคำยังเป็นวิธีการลงทุนที่ปลอดภัยในสถานการณ์ที่ตลาดทุนและเศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอน ดังนั้นการเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาความเสี่ยงในระยะยาวของประเทศและธนาคารกลางนว่าการเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน และช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว การลงทุนในทองคำมักเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโล่งลงหรือมีความไม่แน่นอน และช่วยให้ประเทศมีความมั่นคงในเวลาที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจได้ดีขึ้น การเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองยังช่วยให้ประเทศมีความสามารถในการจ่ายหนี้หรือดำเนินกิจกรรมทางการเงินในกรณีฉุกเฉินได้ดีขึ้นด้วย ดังนั้นการเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจประเทศต่างๆ ในระยะยาว่าราคาเท่าไหร่ก็ซื้อ
และถึงตอนนี้ธนาคารกลางหลายประเทศก็ “คิดได้” พร้อม ๆ กัน ในการเพิ่มทองคำในทุนสำรอง โดยสัญญาณนี้ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2566 แล้ว โดยงานสำรวจของ “สภาทองคำโลก หรือ World Gold Council” เมื่อปีที่แล้ว คือปี 2566 พบเลยว่า มีประเทศมากถึง59% ที่จะเพิ่มสัดส่วนทองคำระหว่าง16-25%ในทุนสำรองของประเทศตัวเอง และ70%ธนาคารกลาง ของประเทศต่างๆ เชื่อว่าจะมีการเพิ่มสัดส่วนของทองคำในทุนสำรองในระยะเวลา 12 เดือนข้างหน้าแน่นอน
ไม่เพียงทองคำจริงเท่านั้นที่ราคาสูงขึ้น ทั้งทองคำกระดาษตราสารอนุพันธ์และตลาดล่วงหน้าที่ไม่มีทองคำจริงก็ราคาสูงขึ้น รวมไปถึงราคาบิทคอยน์ก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
#แชรลกโซดอลลาร #ใกลลม #สหรฐฯ #แบกหนเพม #ลานลานทกๆ #วน
2024-05-05 08:05:00